เมนู

5. อภิสันทสูตร


ว่าด้วยห้วงบุญห้วงกุศล 5 ประการ


[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญมีห้วงกุศล 5 ประการนี้ เป็น
เหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุบริโภคจีวรของผู้ใด เข้าเจโต-
สมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศลของผู้นั้น หาประมาณมิได้
เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็น
ไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ภิกษุบริโภคบิณฑบาตของผู้ใด. . .ภิกษุบริโภควิหารของผู้ใด. . .
ภิกษุบริโภคเตียง ตั่งของผู้ใด. . . ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชของผู้ใด เข้า
เจโตสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ของผู้นั้นหาประมาณ
มิได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศ
ให้เป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุข.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล 5 ประการนี้แล เป็นเหตุ
นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อม
เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข ก็การที่จะถือเอาประมาณแห่งบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ
ห้วงกุศล 5 ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้ เป็นเหตุ
นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ดังนี้ พึงทำไม่ได้โดยง่าย โดยที่แท้ ย่อมถึงการนับว่า กอง-
บุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณน้ำใน
มหาสมุทรว่า น้ำนี้มีประมาณอาฬหกะเท่านี้ มีร้อยอาฬหกะเท่านี้ มีพัน
อาฬหกะเท่านี้ หรือมีแสนอาฬหกะเท่านี้ ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย ย่อมถึงการ
นับว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ฉะนั้น.
แม่น้ำเป็นที่อยู่แห่งฝูงปลา ส่วนมาก
ย่อมหลั่งไหลไปสู่สาครห้วงทะเลหลวง
อันจะประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก
เป็นที่อยู่แห่งรัตนะหลายชนิด. ฉันใด
ห้วงบุญย่อมหลั่งไหลเข้าสู่นรชน ผู้เป็น
บัณฑิต ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน
ที่นั่ง เครื่องปูลาด เหมือนห้วงน้ำหลั่งไหล
เข้าไปสู่สาคร ฉันนั้น.

จบอภิสันทสูตรที่ 5
อภิสันทสูตรที่ 5 พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในจตุกนิบาต.

6. สัมปทาสูตร

1

ว่าด้วยสัมปทา 5 ประการ


[46] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาสัมปทา 1 สีลสัมปทา 1 สุตสัมปทา 1 จาคสัมปทา 1
ปัญญาสัมปทา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล.
จบสัมปทาสูตรที่ 6

7. ธนสูตร

2

ว่าด้วยทรัพย์ 5 ประการ


[47] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา 1 ทรัพย์ คือ ศีล 1 ทรัพย์ คือ สุตะ 1
ทรัพย์ คือ จาคะ 1 ทรัพย์ คือ ปัญญา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์
คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ
พระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์
คือ ศรัทธา. ก็ทรัพย์ คือ ศีลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุรา
และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล.
1.-2. สูตรที่ 6-7 อรรถกถามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.